วันนี้จะพาไปทำความรู้จักเกี่ยวกับพื้นฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับ กล้อง DSLR คืออะไร ใครที่ยังไม่เคยรู้จัก หรือพอรู้แต่ยังไม่เข้าใจมากนัก ต้องรู้ให้ลึกถึงส่วนประกอบของกล้อง DSLR ว่าเป็นอย่างไร และกล้อง DSLR ดีจริงไหมคุณภาพเป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ก็ตามไปดูกันเลยว่าเป็นอย่างไร
1.กล้อง DSLR และหลักการทำงานของกล้อง
กล้องที่ใช้โดยทั่วไปในบ้านเรานั้นมีหลากหลายประเภทแต่หลัก ๆที่นิยมใช้มีอยู่ประมาณ 3 ชนิดด้วยกัน คือ กล้อง DSLR, Mirrorless, Compact ในเนื้อหานี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับพื้นฐานที่ควรรู้ เกี่ยวกับกล้อง DSLR ว่ามันคือกล้องอะไร รู้ให้ลึก ถึงส่วนประกอบของกล้องว่ามีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลยDSLR มีชื่อเต็ม ๆ ว่า Digital Single Lens Reflex ซึ่งเป็นกล้องสะท้อนภาพแบบเลนส์เดี่ยวโดยใช้ระบบดิจิทัล และหลักการทำงานเหมือนกล้องฟิล์มแต่ใช้เซนเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม ซึ่งก็คือกล้องดิจิทัลที่ใช้กระจกในการสะท้อนภาพจริงที่เรากำลังจะถ่ายผ่านจากช่องมองภาพ และสะท้อนผ่านกระจก แล้วนำมาฉายบนแผ่นปรับโฟกัส แล้วนำมาลดขนาดของภาพผ่านเลนส์ลดขนาดภาพอีกที แล้วจึงสะท้อนไปในปริซึมห้าเหลี่ยมซึ่งทำให้ภาพที่ถ่ายแสดงออกมาในช่องมองภาพ และเมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์จะทำให้กระจกสะท้อนภาพและช่องระนาบของโพกัสเปิดออก ทำให้ภาพฉายลงบนเซนเซอร์รับภาพนั่นเอง ซึ่งกล้องแบบนี้สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์เพื่อให้เรากำหนดช่วงระยะ หรือความคมชัดของภาพ และกล้องชนิดนี้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่ากล้องชนิด mirrorless และ compact
2. ส่วนประกอบของกล้อง DSLR
หลังจากที่เราได้รู้พื้นฐานควรรู้ว่ากล้อง DSLR คืออะไรและมีการหลักการทำงานอย่างไรแล้ว ในที่นี้เราจะมารู้ให้ลึก ถึงส่วนประกอบกล้อง DSLR กันว่ามีอะไรบ้าง
1.ด้านบน จะประกอบไปด้วย สวิตช์เปลี่ยนโหมดโฟกัส ไมโครโฟน จุดยึดสายคล้อง ฐานเสียบแฟลช แหวนปรับโหมด สวิตช์ปิดเปิด ปุ่มตั้งค่าความไวแสง ISO ล้อควบคุมหลัก วงแหวนซูม วงแหวนโฟกัส
2.ด้านหน้า ในส่วนของด้านหน้าจะประกอบไปด้วย ปุ่มชัตเตอร์ เมาท์ของเลนส์ กระจก ช่องบรรจุแบตเตอร์รี่ รูยึดขาตั้งกล้อง ปุ่มปลดเลนส์ ดัชนีสำหรับติดตั้งเลนส์ แฟลชในตัว
3.การแสดงผลบนช่องมองภาพ จะประกอบไปด้วย จุดโฟกัสออโต้ ความเร็วของชัตเตอร์ ค่ารูรับแสง ความไวของแสง ISO
4.ด้านหลัง จะประกอบไปด้วย ยางรองตา เลนส์ใกล้ตาของช่องมองภาพ ปุ่มmenu หน้าจอ LCD ปุ่มเพลย์แบ็ค ปุ่มลบ ไฟแสดงการเข้าใช้ข้อมูล ปุ่ม SET/Multi-controller ลำโพง ปุ่มเลือกจุดโฟกัสอัตโนมัติ ปุ่มเปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพ Live View/การถ่ายภาพยนตร์และในส่วนของการตั้งค่าบนจอ LCD นั้นจะประกอบไปด้วยดังนี้ โหมดการถ่ายภาพ ความเร็วชัตเตอร์ การแสดงระดับแบตเตอรี่ จำนวนภาพที่ยังถ่ายได้ คุณภาพการบันทึกภาพ ความไวแสง ISO ค่ารูรับแสง
3. ประเภทของขนาดเซนเซอร์รับภาพกับคุณภาพของภาพ
หลังจากที่เราได้รู้พื้นฐานควรรู้ว่ากล้อง DSLR คืออะไรและมีการหลักการทำงานอย่างไร และรู้ให้ลึก ถึงส่วนประกอบกล้อง DSLR กันว่ามีอะไรบ้างกันไปแล้วนั้น ในส่วนนี้เราจะมาดูกันว่าประเภทของขนาดเซนเซอร์รับภาพกับคุณภาพของภาพนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งการผลิตกล้องของแต่ละผู้ผลิตก็มักจะมีการใช้เซนเซอร์ของกล้องที่มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป แต่หลัก ๆ แล้ว ขนาดของเซนเซอร์จะแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
1. กล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าฟิล์ม ซึ่งเรียกกันง่าย ๆ ว่ากล้องตัวคูณ ซึ่งจะใช้เซนเซอร์รับภาพขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 มม. ทำให้เวลานำเลนส์มาใส่กับกล้อง องศาการรับภาพของเลนส์ตัวเดิมจะแคบลง และหากนำเลนส์ทางยาวโฟกัส 50 มม. มาใส่กับกล้องตัวคูณ องศาการรับภาพของเลนส์ 50 มม. ก็จะกลายเป็นเท่ากับเลนส์ 80 มม. ในกล้องฟิล์มแทน ซึ่งทำให้มีมุมที่แคบลงไปนั่งเอง
2. กล้อง DSLR ที่ใช้เซนเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม ซึ่งเรียกว่ากล้องFull Frame ซึ่งใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่เท่ากับฟิล์ม 35 มม. ทำให้ภาพได้สัดส่วน หากนำเลนส์มาสวมใส่จึงมีองศาการรับภาพเท่าเดิมและรับสัญญาณแสงได้ดีกว่า ภาพที่ออกมาจึงมีคุณภาพที่ดีกว่าและมีสัญญาณรบกวนที่น้อยกว่า สามารถถ่ายภาพแบบเบลอฉากหลังได้ง่าย แต่กล้องฟลูเฟรมก็จะมีราคาที่แพงกว่ากล้องตัวคูณ
4. ชนิดของเซ็นเซอร์รับภาพ
หลังจากที่เราได้รู้พื้นฐานควรรู้ว่ากล้อง DSLR คืออะไรและมีการหลักการทำงานอย่างไร และรู้ให้ลึก ถึงส่วนประกอบกล้อง DSLR กันว่ามีอะไรบ้างกันไปแล้ว ในส่วนนี้เราก็จะมาดูกันว่าชนิดของเซนเซอร์รับภาพนั้นมีอะไรกันบ้าง โดยทั่วไปเซนเซอร์รับภาพนั้นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันดังนี้
1. CCD (Charge Coupled Device) จะประกอบไปด้วยเซลที่รับแสงอยู่จำนวนมากมาย ซึ่งจะทำหน้าที่รับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณอนาล็อค เป็นสัญญาดิจิทัล ซึ่งให้ภาพมีคุณภาพที่ดีกว่าแบบ CMOS แต่ด้วยการผลิตที่ซับซ้อนและมีต้นทุนที่สูงจึงนิยมใช้ร่วมกับกล้องชนิด compact มากกว่า
2.CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) บนตัวเซนเซอร์จะมีวงจรแปลงสัญญาณแสง ซึ่งทำให้พื้นที่การรับแสงน้อยกว่า CCD และสามารถใช้เทคโนโลยีที่ผลิตชิปขึ้นมาได้ทันทีโดยมีต้นทุนต่ำ และเซนเซอร์ชนิดนี้ได้มีการพัฒนาให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นและประหยัดพลังงานทำให้ได้รับความนิยมมากกว่าชนิด CCD
3.MOS (Metal Oxide Semiconductor) มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับ CMOS แต่ด้านการประหยัดพลังงานไม่เท่ากันกับ CMOS ซึ่งเซนเซอร์รับภาพ CCD มักจะพบได้ในกล้อง DSLR จาก Olympus
และในส่วนของ Nikon D2Hs และกล้อง Nikon ระดับสูง จะใช้แบบ JFET LBCAST (Junction Field Effect Transistor) LBCAST (Lateral Buried Charge Accumulator & Sensor Transistor array) ซึ่งมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับ CCD แต่การส่งต่อข้อมูลชนิด JFET LBCAST จะเร็วกว่า CCD
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ ความรู้พื้นฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับกล้อง DSLR ไม่ว่าจะเป็นการทำความรู้จักกับกล้อง การทำงานของกล้อง รวมไปถึงการรู้ให้ลึกถึงส่วนประกอบของกล้องชนิดนี้ และประเภทของขนาดของเซนเซอร์ที่มีผลต่อคุณภาพของภาพถ่าย และจบท้ายกันที่ชนิดของเซนเซอน์รับภาพว่าปัจจุบันมีการใช้เซนเซอร์กี่ชนิดและชนิดไหนได้รับความนิยมบ้าง หวังว่าข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของกล้องชนิด DSLR นี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับกล้องชนิด DSLR นี้และสามารถที่จะเลือกซื้อเลือกใช้กล้องได้อย่างสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับคุณสมบัติของกล้องชนิดนี้
เครดิตรูป
อ่านต่อที่ กล้องฟิล์ม