ปัญหาโลกแตกที่ใครหลายคนลังเลใจ ไม่รู้จะเลือกกล้องแบบไหนดี ? ระหว่าง aps c vs full frame เซนเซอร์ แบบไหนดีนะ ซึ่งในปัจจุบันระดับราคาเริ่มขยับเข้ามาใกล้เคียงกันมาก ๆ ฟีเจอร์ และ ความสามารถต่าง ๆ รวมถึงดีไซน์ ก็เริ่มจะมีความใกล้เคียงกัน APS-C ก็มีความสามารถสูงมาก ๆ ในด้านของ full frame ก็พยายามที่จะลดสเปก ลดฟีเจอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงกล้องฟูลเฟรมได้ และวันนี้เราจะมาทำความรู้จักและความแตกต่างระหว่าง aps c vs full frame กันเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการตัดสินใจ
กล้อง aps c vs full frame: เซนเซอร์ภาพ 2 แบบที่มีขนาดแตกต่างกัน
ในกล้องดิจิตอล เซนเซอร์ภาพคือชิ้นส่วนของกล้องที่ทำหน้าที่รับแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ และแปลงแสงเหล่านั้นให้กลายเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สามารถดู วิเคราะห์ หรือจัดเก็บได้ เซนเซอร์ภาพมีรูปทรงและขนาดแตกต่างกันไป แต่จะมีรูปแบบมาตรฐานบางอย่างที่บริษัทผู้ผลิตกล้องนิยมใช้
ไม่ว่าคุณจะซื้อกล้องประเภทไหนรูปแบบเซนเซอร์ภาพ ที่คุณจะได้พบเห็นมากที่สุดสองชนิดคือ aps c vs full ในขณะที่กล้องแต่ละรุ่นอาจมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่โดยทั่วไป ขนาดของเซนเซอร์ภาพจะเป็นดังนี้
- ฟูลเฟรม: ขนาดของเซนเซอร์ 36 x 24 มม.
- APS-C : ขนาดของเซนเซอร์ 22.3 x 14.8 มม.
full frame 35 มม.
full frame หรือ“ฟูลเฟรม 35 มม.” และมีต้นกำเนิดมาจากฟิล์ม 35 มม. ที่ใช้ในกล้องฟิล์ม หากคุณวัดขนาดฟิล์มเนกาทีฟ 35 มม. คุณจะพบว่าพื้นที่ภาพคือ 36 x 24 มม. ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับเซนเซอร์ภาพในกล้องฟูลเฟรม นอกจากนี้ยังถูกดัดแปลงมาจากม้วนฟิล์ม 35 มม. ที่ใช้ในโรงภาพยนตร์อีกด้วย อ่านความเป็นมาและเรียนรู้เกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพยนตร์ได้ที่
แบบ APS-C
APS-C ย่อมาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า Advanced Photo System type-C มีที่มาจากรูปแบบ C (“Classic”) ของรูปแบบฟิล์มเนกาทีฟ APS ที่ผู้ผลิตนำมาใช้เป็นครั้งแรกในปี 1996 เพื่อช่วยให้ผู้ใช้กล้องทั่วไปสามารถเข้าถึงกล้องถ่ายรูปได้มากขึ้น เมื่อการถ่ายภาพดิจิตอลได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ผลิตกล้องจึงนำเซนเซอร์ภาพแบบดิจิตอลที่มีขนาดใกล้เคียงกันมาใช้
สรุป: aps c vs full frame
ข้อดีและกล้อง aps c vs full frame
กล้อง APS-C
เพราะกล้อง APS-C และเลนส์คือมีราคาที่ค่อนข้างถูก ทำให้หลาย ๆ คนเลือกให้เป็นกล้องตัวแรกของคุณและด้วยราคาที่ไม่สูงมากทำให้สามารถเลือกเพิ่มเติมอุปกรณ์เสริมได้ โดยคุณสามารถสร้างคลังอุปกรณ์ที่ดีพอได้ด้วยกล้อง APS-C เลนส์สองชิ้น และอาจซื้อแฟลช Speedlite ได้ด้วยในราคาเท่ากับชุดกล้องฟูลเฟรมใหม่เอี่ยมแต่อาจไม่เพียงพอกับการซื้ออุปรณ์เสริมเลยก็ได้ทีนี้เรามาดูข้อดีและข้อเสียเด่น ๆ ของกล้อง APS-C กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
- ข้อดีของกล้อง APS-C
– มักมีขนาดที่เล็กกว่า เบากว่า และราคาถูกกว่า
– เลนส์ที่ออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C มักมีขนาดเล็กกว่า เบากว่า และถูกกว่าด้วยเช่นกัน
– การครอปช่วยให้คุณเข้าใกล้ตัวแบบได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ
– โดยปกติแล้วจะสามารถใช้เลนส์ฟูลเฟรมเพิ่มเติมจากเลนส์ APS-C ได้
- ข้อเสียของกล้อง APS-C
– ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้างได้อย่างเต็มที่
– อาจเห็นจุดรบกวนได้มากกว่าเมื่อถ่ายภาพด้วยความไวแสง ISO สูงในสภาวะแสงน้อย
ข้อดีและข้อเสียของกล้อง full frame
สิ่งหนึ่งที่ทราบกันดีว่าระบบกล้องฟูลเฟรมต้องใช้การลงทุนที่สูงกว่ามาก แต่ความอเนกประสงค์ในสภาวะการถ่ายภาพที่หลากหลายกว่า ทำให้ช่างภาพมืออาชีพหลายคนชอบใช้กล้องฟูลเฟรมมากกว่า ผู้รักการถ่ายภาพหลายคนตัดสินใจว่าพวกเขาต้อง “เลื่อนระดับ” ขึ้นมาจากระบบกล้อง APS-C ในที่สุดทีนี้เรามาดูข้อดีและข้อเสียที่สามารถแยกออกมาเป็นข้อ ๆ กันบ้างว่ามีอะไรบ้างสำหรับกล้อง ฟูลเฟรม
- ข้อดีของกล้องฟูลเฟรม
– ถ่ายภาพได้ด้วยมุมรับภาพที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับกล้อง APS-C ที่ใช้เลนส์เดียวกันและจุดถ่ายภาพเดียวกัน
– สามารถใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้างได้อย่างเต็มที่
– มักจะมีจุดรบกวนน้อยกว่าเมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยด้วยความไวแสง ISO สูง
- ข้อเสียของกล้องฟูลเฟรม
– มีราคาแพงกว่า
– ใช้งานกับเลนส์ APS-C ได้อย่างจำกัด
ไม่มีมาตรฐาน หรือกฏเกณฑ์ ที่ตายตัวว่าจะต้องเป็นกล้อง aps c vs full frame ดีกว่ากัน เพราะหลาย ๆ คนนั้นอาจเริ่มจากจุดเล็ก ๆ แล้วค่อยๆ พัฒนาทักษะให้สูงขึ้น ด้วยเพราะเหตุผลหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะประสบการณ์ หรืองบประมาณ แต่ท้ายที่สุดแล้ว อุปกรณ์กล้องคือเครื่องมือที่คุณใช้ในการถ่ายทอดอารมณ์ด้วยภาพ และสิ่งสำคัญคือคุณต้องเรียนรู้ที่จะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นให้ได้เป็นอย่างดี! ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพกับกล้องตัวเก่งของคุณค่ะ
เครดิต www.pinterest.com